การบูรณะฟันทั้งปาก เป็นการรักษาในกรณีที่มีการสึกของฟันที่รุนแรงทั้งปาก ซึ่งการรักษาจะทำการครอบฟันทุกซี่ทั้งปากให้ฟันที่สึกมีสภาพสมบูรณ์ เพื่อความสวยงามและการใช้งานฟันอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น การบูรณะฟันทั้งปากเหมาะสำหรับผู้ที่สูญเสียฟัน ฟันแตก ฟันผุ อันจะนำไปสู่ปัญหาสุขภาพโดยรวมในอนาคต
สาเหตุที่ทำให้อาจจะต้องบูรณะฟันทั้งปาก
วิธีการบูรณะฟันทั้งปาก
ก. ฟันเสียหายทั้งปากหรือฟันเสียหายหลายซี่
ข. ฟันทั้งปากหายไป
ขั้นตอนการรักษา:
1) การตรวจภายในช่องปากและการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้
เมื่อนัดหมายมาตรวจในครั้งแรก ทันตแพทย์จะทำการตรวจช่องปากและเอ็กซเรย์ เพื่อตรวจสอบปัญหาของฟัน และสอบถามเป้าหมายของการรักษา หรือความคาดหวังจะได้รับจากการตรวจในครั้งนี้ จึงจำเป็นต้องใช้การเอ็กซเรย์เพื่อการวิเคราะห์เพิ่มเติมในการวางแผนการรักษา
2) การวางแผนการรักษา
ในการนัดหมายครั้งนี้ ทันตแพทย์จะแจ้งถึงปัญหาทางทันตกรรมทางเลือกในการรักษา และชี้แจงราคาและระยะเวลาในการรักษาให้แก่คนไข้
3) การรักษา
ขั้นตอนการรักษาแต่ละขั้นตอนจะระบุไว้ในแผนการรักษา การรักษาจะเริ่มตามลำดับในแผนการรักษา ในกรณีที่มีการทำครอบฟัน อาจจำเป็นจะต้องมาตรวจเช็คเป็นระยะ ทันตแพทย์จะคำนวณระยะเวลาในช่วงการรักษานี้ให้
4) ติดตาม
เมื่อขั้นตอนการรักษาทั้งหมดเสร็จสิ้น การติดตามผลสำหรับกรณีการบูรณะฟันทั้งปากยังคงเป็นสิ่งที่จำเป็น เพื่อรักษาการบูรณะให้มีความทนทานในการใช้งานให้ดีที่สุด
เครื่องมือกันกัดฟัน หรือเฝือกกันกัดฟันเป็นเครื่องมือถอดได้ที่ช่วยยับยั้งหรือป้องกันการที่ฟันกัดสบกันด้วยแรงบดเคี้ยวมากกว่าปกติ ซึ่งจะส่งผลให้ฟันแตก ฟันร้าว ฟันสึก หรือมีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อต่อขากรรไกรได้ การกัดสบฟันด้วยแรงที่มากกว่าปกติสามารถเกิดได้ทั้งตอนกลางคืนขณะหลับ หรือตอนกลางวันเมื่อใช้สมาธิจดจ่อกับกิจกรรมใดกิจกรรมหนึ่งมากๆ
สาเหตุของการกัดสบฟันด้วยแรงที่ผิดปกติมีได้หลายประการ ตั้งแต่มีความเครียดเป็นปัจจัยกระตุ้น การสบฟันที่ผิดปกติ
ประเภทของเฝือกป้องกันการกัดฟัน
1 แบบนิ่ม
ข้อดี
ข้อเสีย
2 แบบแข็ง
ข้อดี
ข้อเสีย
การทำรากเทียมทั้งปากมีวิธีในการทำหลากหลายวิธี ดังนี้
1) ใส่รากเทียมยึดฟันปลอมถอดได้ Implant support overdenture
เป็นการใช้รากเทียมมารองรับฟันปลอมทั้งปากเพื่อเพิ่มการยึดหยุ่น ไม่ให้ฟันปลอมกดทับสันเหงือก คนไข้สามารถถอดออกได้ด้วยตัวเอง ระยะเวลาในการรักษาอย่างน้อย 3-4 เดือน ระยะแรกสำหรับการปลูกรากเทียม จากนั้นต้องรอประมาณ 3-4 เดือนเพื่อให้รากเทียมติดกับกระดูก จึงสามารถเข้าสู่ระยะที่สองเพื่อทำฟันปลอมบนรากเทียม ระยะเวลาในการทำงานแต่ละระยะอยู่ที่ประมาณ 1-2 สัปดาห์
2) ใส่รากเทียมยึดฟันปลอมติดแน่น Implant support hybrid or all on 4
เป็นการใช้รากเทียมสีซี่มายึดชิ้นฟันปลอมแบบติดแน่น โดยที่ชิ้นฟันปลอมนี้จะมีขนาดเล็กกว่าแบบที่หนึ่ง
2.1) แบบ basic สามารถทำได้เสร็จในเวลาประมาณ 7 วันแต่มีความจำเป็นที่ต้องตรวจเช็คเป็นระยะหลังจากนั้น
2.2) แบบ Premium ระยะเวลาในการรักษาแบ่งเป็น 2 ช่วง
3) รากเทียมยึดสะพานฟันติดแน่นบนรากเทียม Implant support fixed bridge
ส่วนงานรากเทียมรองรับสะพานฟันนั้น ต้องใช้การปลูกรากเทียมหลายตัวเพื่อ รับสะพานฟันแยกเป็นส่วนๆ ความสำคัญของงานอยู่ที่ความแม่นยำของตำแหน่งรากเทียมที่ปักลงไป อาจารย์ทันตแพทย์ที่เป็นคนปักรากเทียมมีความเชี่ยวชาญและทักษะที่แม่นยำมาก ปักได้ตำแหน่งรากเทียมที่ถูกต้อง ทำให้ตัวฟันด้านบนอยู่ในลักษณะถูกต้องตามตำแหน่งซี่ฟันธรรมชาติ
ระยะเวลาในการรักษาแบ่งเป็น 2 กรณีขึ้นกับสภาพกระดูกคนไข้
- กรณีที่1 คนไข้มีกระดูกบริเวณฟันหลังดี ระยะเวลาในการรักษาอย่างน้อย 3-4 เดือน เหมือนกับข้อ 1)
ระยะแรกสำหรับการปลูกรากเทียม จากนั้นต้องรอประมาณ 3-4 เดือนเพื่อให้รากเทียมติดกับกระดูก จึงสามารถเข้าสู่ระยะที่สองเพื่อทำสะพานฟันติดแน่นบนรากเทียม ระยะเวลาในการทำงานแต่ละระยะอยู่ที่ประมาณ 1-2สัปดาห์
- กรณีที่ 2 คนไข้มีกระดูกบริเวณฟันหลังไม่เพียงพอต่อการฝังรากเทียม
ระยะเวลาในการักษาแบ่งเป็น 3 phases
Phase 1 : ปลูกกระดูกบริเวณฟันหลัง
Phase 2 : ฝังรากเทียม
Phase 3 : ทำสะพานฟันบนรากเทียม
แต่ละ phase ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 1-2 สัปดาห์
phase 1 ห่างจาก phase 2 ประมาณ 6 เดือน
phase 2 ห่างจาก phase 3 ประมาณ 3-4 เดือน
ตัวอย่างที่รูปที่3 และ 4
แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป งานรากเทียมทั้งปากเป็นงานที่มีรายละเอียดมาก มีความจำเพาะกับแต่ละบุคคลแตกต่างกันไป ทั้งในแง่ของการใช้งาน สภาพกระดูก ความสวยงาม ถ้าคนไข้เข้ามาทำการตรวจ ถ่ายเอ็กซเรย์ และปรึกษากับทางทันตแพทย์ จะได้ข้อมูลมี่มากขึ้นรวมทั้งได้ดูตัวอย่างฟันจริงๆ ซึ่งดีกว่าการดูจากรูปภาพ