ศัลยศาสตร์ช่องปาก เป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยผ่าตัด และการรักษาจากการบาดเจ็บ หรือข้อบกพร่องในหัว คอ ใบหน้า กราม และเนื้อเยื่อแข็งหรืออ่อนในช่องปาก (ปาก) และใบหน้าขากรรไกร (ขากรรไกรและใบหน้า )
วิธีการ:
ข้อบ่งชี้ในการถอนฟัน
ในการถอนฟันแต่ละซี่จะใช้เวลาที่ต่างกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับความยากง่ายของการถอนฟัน ถ้าหากฟันเหลือน้อยเนื่องจากฟันผุหรือแตก การรักษาอาจใช้เวลานานกว่าปกติ ทันตแพทย์จะทำการตรวจ เอ็กซเรย์ภายในช่องปาก ซักประวัติโรคประจำตัวและประวัติแพ้ยาก่อนทำการรักษา
บางครั้งฟันคุดหรือฟันกรามซี่สุดท้าย จำเป็นต้องมีการถอนออก เพราะว่าอยู่ในลักษณะที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ตามปกติ หรือไม่ได้อยู่ในแนวที่เดียวกับฟัน ส่วนมากฟันคุดจะเกิดขึ้นในช่วงวัยรุ่นตอนปลาย หรือช่วงอายุยี่สิบต้นๆ
หากปล่อยฟันคุดไว้จะมีความเสี่ยงต่อภาวะต่างๆดังต่อไปนี้
ประเภทของฟันคุด
ฟันคุดแต่ละประเภทต้องใช้ระยะเวลาและค่ารักษาที่แตกต่างกัน ระดับความเจ็บปวดและอาการบวมจะแตกต่างกันไปสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย ขึ้นอยู่กับประเภทของฟันคุดและความยากลำบากในการรักษาและการตอบสนองแบบส่วนตัวของคนไข้
การปลูกกระดูก คือ การผ่าตัดเสริมทดแทนกระดูกส่วนที่หายไป ซึ่งวิธีในการรักษาหลายวิธี โดยที่ค่ารักษาจะขึ้นอยู่กับแต่ละวิธีการรักษา และปริมาณของวัสดุกระดูกสังเคราะห์ โดยส่วนใหญ่งานปลูกกระดูกจะทำร่วมกับการทำรากเทียม หรืองานรักษาโรคเหงือกที่มีการละลายตัวของกระดูก
สาเหตุที่กระดูกรองรับรากฟัน และกระดูกขากรรไกรละลายตัว
ประเภทของการปลูกกระดูก
การผ่าตัดขากรรไกรหรือศัลยกรรมช่องปากเป็นประเภทของการผ่าตัด ดังต่อไปนี้:
วิธีการนี้โดยทั่วไปต้องทำภายใต้การดมยาสลบโดยศัลยแพทย์ช่องปากและใบหน้า การรักษาอาจข้องเกี่ยวกับกรามบนหรือล่าง หรือทั้งบนล่างควบคู่กัน ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้และแผนการรักษา มักมีความจำเป็นต้องใช้แผ่นสกรู เพื่อช่วยในการยึดกระดูกแต่ละส่วนโดยเฉพาะเนื้อเยื่ออ่อนบริเวณใบหน้า คาง แก้ม ริมฝีปาก และปลายจมูกจะเคลื่อนที่ไปตามตำแหน่ง ขากรรไกรที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเมื่อขากรรไกรถูกวางไว้อย่างถูกตำแหน่งสอดคล้องกับลักษณะใบหน้า จะส่งผลให้มีรูปลักษณ์ใบหน้า และการสบฟันที่ดีขึ้น
วัตถุประสงค์หลักของการผ่าตัดร่วมกับการจัดฟัน คือ การปรับปรุงการบดเขี้ยว แต่ด้วยผลของการมีรูปลักษณ์ใบหน้าที่ดีขึ้น มีคนไข้จำนวนมากสามารถปรับปรุงบุคลิกภาพและการพูดของพวกเขาที่นำไปสู่คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
การผ่าตัดเหงือกมีหลากหลายประเภทเพื่อแก้ไขหรือเอื้อต่อการรักษาทางทันตกรรมอื่น ๆ เช่น การครอบฟัน การอุดฟัน
ประเภทการผ่าตัดเหงือกที่พบบ่อย ได้แก่
1.การผ่าตัดเพิ่มความยาวตัวฟัน
ในกรณีคนไข้ที่มีฟันผุหรือส่วนขอบของฟันแตกใต้เหงือก และต้องทำการอุดฟันหรือครอบฟัน จำเป็นจะต้องผ่าตัดเหงือกเพื่อให้ลดระดับเหงือกหรือกระดูกต่ำลงใต้ส่วนที่ผุหรือแตกเพื่อให้ขอบของวัสดุอุดหรือขอบของครอบฟันสามารถวางได้คลุมในส่วนนั้น ในบางกรณีการครอบฟันหรือเคลือบฟันเทียมเพื่อความสวยงาม อาจใช้การผ่าตัดเหงือกร่วมด้วยเพื่อปรับปรุงรูปร่างให้ตัวฟันมีความสวยงามเพิ่มขึ้น
ขั้นตอน
การรักษาใช้เวลาระหว่าง 1-2 ชั่วโมง และสามารถทำได้บนฟันหนึ่งซี่หรือฟันหลายซี่ จะการฉีดยาชาเฉพาะที่ก่อนการผ่าตัดและมีการเย็บแผล
2. Distal wedge operation
ขั้นตอนนี้ คือ การผ่าตัดเหงือกส่วนเกินบริเวณด้านหลังของฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งมักพบเป็นสาเหตุที่ทำให้เหงือกบวม อักเสบ และยังามารถใช้กับการกำจัดนื้องอกหรือเนื้อเยื่อบางประเภทได้
3. การเปิดเหงือกร่วมด้วยกับการเกลารากฟัน
การรักษานี้ทำเพื่อเพิ่มการเข้าถึงการขูดหินปูน และการเกลารากฟัน เพื่อลดคราบจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่อยู่ใต้เหงือก ทำให้ร่องลึกหรือตำแหน่งของเหงือกจะลดขนาดพื้นที่ลง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดเชื้อโรคและแบคทีเรีย หลังจากเกลารากฟันเสร็จสิ้นจะมีการเย็บเหงือกกลับเข้าที่ตำแหน่งเดิม