เมื่อส่วนใดส่วนหนึ่งของฟันเกิดความเสียหาย เราสามารถซ่อมแซมโดยการบูรณะฟันบางส่วนได้
สาเหตุที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อฟัน
มีหลายวิธีที่จะสามารถซ่อมแซมฟันแต่ละซี่ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของฟันที่เสียหายและตำแหน่งของฟันที่เกิดความเสียหาย การตรวจและเอกซเรย์มีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อประเมินการรักษาที่เหมาะสม ในกรณีที่ความเสียหายกว้างจนเกินไปถึงชั้นเนื้อฟัน อาจจะจำเป็นจะต้องรักษารากฟัน ในบางกรณีเกิดความเสียหายเกี่ยวเนื่องจากเหงือกหรือใต้เหงือก การรักษาโรคเหงือกอาจมีความจำเป็น เช่น การตัดเหงือก เป็นต้น
การอุดฟันเป็นวิธีการเปลี่ยนฟันที่เสียหาย เช่น ฟันผุ หรือฟันแตก นอกจากนี้เรายังสามารถใช้การอุดฟันในกรณีของความสวยงามได้ด้วย เช่น การปิดช่องว่างระหว่างฟัน การปรับเปลี่ยนรูปร่างฟัน เช่น เคลือบฟันเทียม วีเนียร์ และอื่นๆ
การอุดฟันมี 2 ประเภท
1. การอุดฟันด้วยสีเหมือนฟัน
การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีหลายเฉดสีที่ทันตแพทย์สามารถเลือกให้ตรงกับสีฟันของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้า
2. การอุดฟันด้วยวัสดุสีเงิน
อินเลย์และออนเลย์ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการบูรณะฟัน นอกเหนือจากการอุดฟันแบบเดิม อินเลย์และออนเลย์ต้องถูกผลิตและส่งมาจากแลปก่อนถึงจะใส่ลงไปที่ฟัน แต่การอุดฟันสามารถทำได้โดยการใสวัสดุลงบนตัวฟันได้ทันที
1. ติดแน่นกว่า ทั้งอินเลย์และออนเลย์เป็นตัวช่วยในการรักษาฟันให้มีสุขภาพฟันที่ดีเท่าที่จะเป็นไปได้
2. สีของอินเลย์ที่ทำจากเซรามิก ทำให้สีของฟันมีความทนทานได้ดีกว่าการอุดฟันแบบเดิม
3. ขอบชิดแนบสนิทกันมากกว่าและช่วยลดเศษอาหารที่เข้าไปติดตามซอกฟัน
4. มีความแข็งแรงกว่าวัสดุอุดฟัน
5. ช่วยรักษาโครงสร้างของฟันและซ่อมแซมฟันผุหรือบริเวณที่เสียหาย ช่วยยืดอายุการใช้งาน
6. ในกรณีที่ขอบฟันผุลึกลงใต้เหงือกมากๆ การทำอินเลย์ ออนเลย์จะสามารถสร้างขอบได้แนบสนิทกับตัวฟันมากกว่า
การรักษาต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ครั้ง
1. ครั้งแรก คือ การเตรียมพิมพ์ปากเพื่อส่งไปยังแลป
อินเลย์หรือออนเลย์ชั่วคราวจะมีรูปร่างเหมือนกันกับตัวจริง ซึ่งจะใส่ตัวชั่วคราวไว้ในครั้งแรกเพื่อปกป้องฟันขณะที่รอใส่ตัวจริง
2. ครั้งที่สอง คือ การใส่และยึดอินเลย์เข้ากับตัวฟัน
ค่าใช้จ่ายของอินเลย์และออนเลย์ขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่ใช้และขนาดของอินเลย์และออนเลย์ ทองอาจมีราคาแพงกว่าวัสดุอื่นๆและพอร์ซเลน ขณะที่ราคาของออนเลย์ขนาดใหญ่สูงกว่าราคาของอินเลย์ขนาดเล็ก
1 เซรามิก
2 โลหะ
ครอบฟัน คือ การบูรณะฟันที่เกิดความเสียหาย แตก หัก หรือผ่านการรักษารากฟันมาแล้วด้วยการใช้ฟันเทียมติดแน่น เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับตัวฟัน ทำให้ฟันกลับมาสวยงาม และใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพดังเดิม
ข้อดี
ข้อเสีย
ประเภท
1. ครอบฟันแบบโลหะ โลหะทำจากทอง เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมการกัดเคี้ยวอย่างรุนแรง หรือผู้ป่วยที่นอนกัดฟันและความยาวของฟันหลังสั้น อย่างไรก็ตามจะไม่แนะนำครอบฟันประเภทนี้สำหรับผู้ป่วยที่ต้องการจะทำครอบฟันเพื่อความสวยงาม
2. ครอบฟันแบบเซรามิกล้วน ครอบฟันเหล่านี้จะไม่มีส่วนประกอบของโลหะและเหมาะสำหรับงานเพื่อความสวยงาม
ครอบฟันแบบเซรามิกล้วนประกอบด้วย
3. ครอบฟันแบบเซรามิกที่มีโลหะเป็นส่วนผสม ผิวครอบฟันด้านนอกจะเป็นเซรามิก ขณะที่โครงสร้างด้านในคือโลหะ ซึ่งมีหลายประเภท
3.1) Precious metal or high gold crown
3.2) Semi precious metal crown
3.3) Palladium
3.4) Non precious crown
มักจะแนะนำผู้ป่วยให้เลือกครอบฟันแบบเซรากมิกที่ผสมโลหะ, ครอบฟันแบบทองล้วน หรือครอบฟันแบบเซรามิกล้วน เนื่องจากให้ขอบที่แนบสนิทกับตัวฟันมากกว่าแบบอื่นๆ มีอัตราการรั่วตามขอบน้อยกว่า
หากผู้ป่วยไม่มีปัญหาอื่นๆ เช่น รากฟันติดเชื้อ หรือโรคเหงือก สามารถทำครอบฟันเสร็จได้ภายใน 5-7 วัน