การถ่ายเอ็กซเรย์ฟัน เป็นหนึ่งในการรวินิจฉัยโรค และความผิดปกติในช่องปากหรือฟันที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้
ประโยชน์ของการเอ็กซเรย์ด้วยวิธีดิจิตอล:
ประเภทของการเอ็กซเรย์ทันตกรรม
1.การเอ็กซเรย์นอกช่องปาก
1.1) OPG คือ ภาพพาโนรามา หรือภาพกว้างของใบหน้าและฟันทั้งหมดของกรามบนและกรามล่าง ซึ่งจะแสดงในแผ่นฟิล์มเดียว
ประโยชน์:
1.2) Cephalometric คือ การเอ็กซเรย์ที่แสดงให้เห็นภาพกระโหลกศรีษะด้านข้าง รูปหน้าด้านข้างในหนึ่งฟิล์ม การเอ็กซเรย์ประเภทนี้จะใช้ในการวินิจฉัยและการวางแผนในการจัดฟัน
2. การเอ็กซเรย์ในช่องปาก
2.1) Bitewing x-ray
ประโยชน์:
2.2) Periapical x-ray
ประโยชน์:
“ผู้ป่วยควรพบทันตแพทย์เพื่อทำความสะอาดฟันหรือขูดหินปูนทุกๆ 6 เดือน หรือ 1 ปี ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล”
การขูดหินปูนจะทำโดยการใช้เครื่องขูดหินปูนและ เครื่องมือขูดตามซอกฟันหรือใต้เหงือกบางตำแหน่ง และขัดฟันด้วยผงขัดผสมฟลูออไรด์ เมื่อทำความสะอาดฟัน ทันตแพทย์จะสามารถประเมินและเช็คปัญหาเกี่ยวกับฟันในช่องปาก เช่น ฟันผุ, โรคเหงือก, การติดเชื้อ และอื่นๆ ซึ่งปัญหาดังกล่าวสามารถตรวจได้โดยการมองเห็นหลังจากที่ได้ทำการขจัดคราบสะสมบนตัวฟันแล้ว หากจำเป็นที่ต้องตรวจตำแหน่งอื่นๆที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่าได้ ทันตแพทย์จะแนะนำถ่ายเอกซ์เรย์ในช่องปากเพิ่มเติม
การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาฟันที่เสียหายที่เกิดจากฟันผุ หรือฟันแตก นอกจากนี้เรายังสามารถใช้การรักษาแบบอุดฟันได้ในกรณีของความสวยงามได้ด้วย เช่น การปิดช่องว่างระหว่างฟัน การปรับเปลี่ยนรูปร่างฟัน เช่น เคลือบฟันเทียม, วีเนียร์ และอื่นๆ เป็นต้น
การอุดฟันมี 2 ประเภท
1. การอุดฟันด้วยสีเหมือนฟัน การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เพราะมีหลายเฉดสีที่ทันตแพทย์สามารถเลือกให้ตรงกับสีฟันของผู้ป่วยได้ โดยเฉพาะบริเวณฟันหน้า
2. การอุดฟันด้วยวัสดุสีเงิน
ฟันแต่ละซี่จะยึดติดกับกระดูกโดยมีเนื้อเยื่อที่ยืดหยุ่นได้ ซึ่งเรียกว่า “เอ็นเหงือก” นั่นหมายความว่ารากฟันของเราถูกลอบร้อมไปด้วยกระดูก เนื้อเยื่อเหงือกจะถูกปกคลุมด้วยกระดูกคล้ายกับผิวที่ปกคลุมไปทั่วร่างกาย เมื่อมีความเสียหายต่อเนื้อเยื่อเหงือก กระดูก หรือเนื้อเยื่อรอบๆ ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาโรคเหงือก
ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเหงือก
การประเมินโรคเหงือกเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการวางแผนการรักษาที่ถูกต้อง ซึ่งรวมไปถึงการตรวจและเอกซเรย์ทั้งช่องปากอีกด้วย
วิธีการรักษา
การรักษารากฟัน คือ การกำจัดประสาทฟันที่อักเสบหรือเป็นหนองออก เพื่อทำให้ความปวดบรรเทาลง ทำความสะอาดภายในคลองรากฟัน และอุดรากฟันในขั้นตอนสุดท้าย
ฟันหนึ่งซี่ประกอบด้วย 3 ชั้น คือ
อาการที่เตือนให้ทราบว่าประสาทฟันกระทบกระเทือน คือ มีอาการเสียวหรือปวดฟันเป็นๆหายๆ หรือปวดอย่างรุนแรงหรือเหงือกบวม การตรวจโดยทันตแพทย์สามารถช่วยวินิจฉัยให้ถูกต้องยิ่งขึ้น
การเสียวฟันจากความร้อน เย็น หรือของหวาน เพียงช่วยสั้นๆ แล้วหายไป เป็นอาการขั้นต้นที่เตือนเราว่ามีสิ่งแปลกปลอมรบกวนปลายประสาทฟัน ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจหาต้นเหตุและให้การรักษาเบื้องต้น
สาเหตุ
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
ทันตแพทย์จะทำความสะอาดโพรงฟันให้ปลอดเชื้อด้วยเครื่องมือเล็กๆ ร่วมกับน้ำยาล้างคลองรากฟัน บ่อยครั้งจะมีการอุดปิดโพรงประสาทฟันระหว่างการรักษา และอาจจำเป็นต้องใส่ยาฆ่าเชื้อทิ้งไว้ในคลองรากฟัน หากสภาพฟันปกติดีแล้วจึงอุดปิดภายในคลองรากฟันให้เต็ม หลังจากนั้นก็บูรณะฟันให้อยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ดีดังเดิมด้วยวัสดุอุดฟันชั่วคราว
การรักษารากฟันที่ทรูท เดนทัล จะมีการใช้เทคโนโลยีกล้องไมโครสโคปมาช่วยขยายการมองเห็นให้ชัดเจน คลองรากฟันเล็กๆทีบางครั้งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อมองผ่านกล้องไมโครสโคปจะสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน ลดความเสี่ยงในการรักษา เช่น การทะลุออกนอกปลายราก หรืออุดไม่ถึงปลายรากได้มาก
การรักษาปกติใช้เวลา 1-2 ครั้ง แต่ในบางกรณีสามารถทำให้เสร็จภายในครั้งเดียวได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพของฟันและเหงือก
ฟันส่วนใหญ่ที่รักษาคลองรากฟันไปแล้ว เนื้อฟันจะเหลือน้อยและอาจทำให้แตกบิ่นได้ง่าย ซึ่งต้องได้รับการบูรณะได้โดย
ปัญหากลิ่นปากเป็นภาวะสุขภาพที่ส่งผลต่อบุคลิกภาพเป็นอย่างมาก โดยพบได้ประมาณ 30% ในประชากรทั่วโลกที่มีกลิ่นปาก
สาเหตุของกลิ่นปากที่พบบ่อยมีดังต่อไปนี้
1. ปัจจัยทางทันตกรรม
1.1 ฟันผุ มีฟันผุลึก จะเป็นที่สะสมของแบคทีเรีย และเนื้อฟันที่ผุจะส่งผลให้มีกลิ่นปากได้
1.2 โรคเหงือก โรคเหงือกอักเสบอาจทำให้เกิดกลิ่นปากได้ เมื่อไม่ได้รับการรักษากลิ่นจะถูกขับออกมาภายนอก การการรักษาโรคเหงือกสามารถทำได้โดยการขูดหินปูนหรือเกลารากฟัน ซึ่งจะช่วยยับยั้งกลิ่นปากได้
1.3 การติดเชื้อ
1.4 การใส่ฟันปลอมหรือใช้อุปกรณ์เสริมทางทันตกรรม การติดแบร็กเกต ใส่สะพานฟัน หรือการใส่ฟันปลอมที่ไม่ดี อาจทำให้มีเศษอาหารติดฟัน ซึ่งสามารถกลายเป็นสาเหตุของการมีกลิ่นปากได้
2. ปัจจัยอื่นนอกจากทางทันตกรรม
2.1 การเลือกอาหาร อาหารหลายชนิดสามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีรสชาติเข้มข้น เผ็ดหรือมีกลิ่นในตัว เช่น ปลา, ชีส, เนื้อสัตว์ การรับประทานอาหารประเภทนี้สามารถทำให้เกิดกลิ่นปากมากกว่าการรับประทานผัก ดังนั้น ควรหลีกเลี่ยงหรือลดอาหารประเภทดังกล่าว
2.2 การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2.3 การสูบบุหรี่ การสูบบุหรี่ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดกลิ่นปาก แต่ยังเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคเหงือกอย่างมาก
2.4 ช่องปากแห้ง บางคนมีปากแห้งตามธรรมชาติหรือบางคนใช้ยาแล้วมีผลข้างเคียงทำให้ปากแห้ง เมื่อต่อมน้ำลายไม่ได้ผลิตน้ำลายมาล้างเหงือกและฟันอย่างต่อเนื่อง แบคทีเรียในปากจะสลายตัวทำให้เกิดกลิ่นปาก และหมากฝรั่งสามารถช่วยป้องกันปากแห้งได้
2.5 หายใจไม่สะดวก
2.6 การนอนกรนหรือการหายใจทางปาก
3. ปัจจัยจากโรคทางระบบ
3.1 ระบบทางเดินหายใจ
3.2 โรคทางเดินอาหารผิดปกติ เช่น อาการท้องอืดหรือท้องผูกสามารถทำให้เกิดกลิ่นปากได้
3.3 การสะสมของสารบางชนิดในกระแสเลือดผิดปกติ
การตรวจในช่องปากร่วมกับการถ่ายเอ็กซเรย์ในปากจะช่วยคัดกรองสาเหตุทางทันตกรรมว่ามีผลต่อกลิ่นปากหรือไม่ หากไม่ได้มาจากปัจจัยทางทันตกรรม ทันตแพทย์จะแนะนำให้ตรวจปรึกษาหาสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆต่อไป